พัฒนาการด้านศิลปะการขีดเขียนวัยเด็กตอนต้น
ศิลปะด้านขีดเขียน
พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กวัยเด็กตอนต้นมีหลายประการ เช่น พับกระดาษ ปั้นดินน้ำมัน ทำการฝีมือ ร้องเพลง พับใบมะพร้าวเป็นรูปต่างๆ ศิลปะเด็กเป็นการแสดงออกที่ซื่อ บริสุทธิ์ เรียบง่าย ไร้จริตมายามีแต่ความสวยสดงดงาม ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ศิลปะเด็กมีเสน่ห์ โดยเฉพาะศิลปะที่เกิดจากจินตนาการตรงของเด็กเอง
พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กวัยเด็กตอนต้นมีหลายประการ เช่น พับกระดาษ ปั้นดินน้ำมัน ทำการฝีมือ ร้องเพลง พับใบมะพร้าวเป็นรูปต่างๆ ศิลปะเด็กเป็นการแสดงออกที่ซื่อ บริสุทธิ์ เรียบง่าย ไร้จริตมายามีแต่ความสวยสดงดงาม ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ศิลปะเด็กมีเสน่ห์ โดยเฉพาะศิลปะที่เกิดจากจินตนาการตรงของเด็กเอง
พัฒนาการด้านศิลปะ เป็นการพัฒนาการทั้งด้านความคิดและทักษะควบคู่กัน พัฒนาการเชิงศิลป์ของเด็กมีความเป็นพิเศษกว่าผู้ใหญ่ ในแง่เป็นการเสริมสมรรถนะทางกาย ด้านประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว รวมทั้งความสามารถด้านสมองเชิงสร้างสรรค์และแสดงออกซึ่งจินตนาการ ซึ่งมีค่าต่อการพัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และความคิดในเชิงบวก เหมือนดังที่ศิลปินไทยท่านหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“ธรรมชาติของมนุษย์มีความโน้มเอียงไปในทางรักความสวยความงาม ถ้าสิ่งนี้ได้รับการพัฒนาอย่างดีและถูกต้อง จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อบุคลิกภาพ เมื่อเจริญเติบโตจะเป็นมนุษย์ที่มีความดีงาม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะองค์ประกอบด้านความงาม จะไปถ่วงดุลกับองค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ ทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามปกติมนุษย์มีความสามารถและต้องการที่จะแสดงออก สร้างสรรค์ศิลปะมาตั้งแต่เด็ก” (วิชัย วงศ์ใหญ่, 2529, หน้า 40)
พัฒนาการทางความคิดของเด็กด้านศิลปะ มักจะไม่ได้นำมาศึกษาค้นคว้ากันมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาพัฒนาการทางความคิดด้านอื่น ทั้งๆ ที่เด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงวัยเด็กตอนปลาย มีความเป็นศิลปินตามธรรมชาติที่ชอบแสดงออก ไม่จำเป็นว่าเขาผู้นั้นจะมีแววหรือมีพรสวรรค์ทางนี้มาอย่างมากมายหรือไม่ นักจิตวิทยาบางท่านเน้นว่า ความคิดเชิงนามธรรมของเด็กอาจศึกษาหรือประเมินได้จากสิ่งที่เด็กๆ แสดงออกในรูปศิลป์ เช่นการขีดเขียน การปั้น ฯลฯ (Scarr et al., 1986)
(ภาพจาก Schell & Hall, 1979, หน้า 231)
(ภาพจาก Schell & Hall, 1979, หน้า 231)
เนื่องจากพัฒนาการเชิงศิลป์ของเด็กวัยนี้มีหลายประเภท แต่ผู้เขียนเห็นว่าพัฒนาการเชิงศิลป์ ด้านวาดเขียน เป็นศิลปะที่เด็กๆ เกือบทั่วโลกมีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากในด้านการแสดงออก และในด้านขั้นตอนของพัฒนาการ จึงใคร่รวบรวมมาเสนอตามสมควร โดยเก็บใจความส่วนมากจาก Scarr et al. (1986) และประภัสร นิยมธรรม (2525) โดยจะอธิปรายเชื่อมโยงตั้งแต่วัยทารกตอนปลายถึงวัยเด็กตอนต้น และล้ำเข้าข้ามไปถึงระยะต้นๆ ของวัยเด็กตอนกลาง
ศิลปะด้านขีดเขียน
การขีดเขียนเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กทุกชนชั้น และทุกวัฒนธรรม (Scarr et al., 1986) ไม่ว่าเด็กจะมีอะไรๆ อยู่ในมือที่ขีดเขียนได้ เด็กจะต้องขีดๆ เขียนๆ ซึ่งผู้ใหญ่มักเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก จะรู้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงศิลป์ในเด็ก ซึ่งถ้าหากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมแนวคิดเชิงสุนทรีย์จะได้รับการปลูกฝังและเจริญงอกงามไปจน เติบใหญ่ เป็นสิ่งที่มีค่าต่ออารมณ์และความคิดของผู้นั้นประดุจคุณสมบัติติดตัวที่ลํ้าค่า
การขีดเขียนเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กทุกชนชั้น และทุกวัฒนธรรม (Scarr et al., 1986) ไม่ว่าเด็กจะมีอะไรๆ อยู่ในมือที่ขีดเขียนได้ เด็กจะต้องขีดๆ เขียนๆ ซึ่งผู้ใหญ่มักเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ แต่ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก จะรู้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงศิลป์ในเด็ก ซึ่งถ้าหากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมแนวคิดเชิงสุนทรีย์จะได้รับการปลูกฝังและเจริญงอกงามไปจน เติบใหญ่ เป็นสิ่งที่มีค่าต่ออารมณ์และความคิดของผู้นั้นประดุจคุณสมบัติติดตัวที่ลํ้าค่า
ประโยชน์ของการขีดเขียนในวัยเด็กตอนต้น (และแม้กระทั่งเด็กวัยอื่นๆ) มีหลายประการ อาทิ
1. การขีดเขียนแสดงให้รู้ถึงภาพพจน์ในใจเด็กเกี่ยวกับโลก ชีวิต สังคม ครอบครัว และเขาต้องการแสดงออกให้ผู้อื่นประจักษ์รู้ เพราะว่าเขาอาจไม่สามารถบอกเล่าให้ผู้อื่นทราบด้วยภาษาถ้อยคำได้
2. ช่วยพัฒนาความสามารถในการเชื่อมโยงทักษะต่างๆ เข้าด้วยกัน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นการประสานงานของตา มือ ความคิด ความเข้าใจ การรับรู้
3. เป็น “งาน” ที่ทำให้เด็ก (รวมทั้งพ่อแม่) นิยมชมชื่นในตัวเอง
พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เข้าใจลูก จึงมักจะเอาผลงานขีดเขียนของเด็กวัยนี้ติดไว้ตามฝาตู้เย็น ฝาบ้าน ฝาห้อง ฯลฯ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นกำลังใจให้เด็กฝึกฝนทักษะการขีดเขียน ยิ่งๆ ขึ้น
พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เข้าใจลูก จึงมักจะเอาผลงานขีดเขียนของเด็กวัยนี้ติดไว้ตามฝาตู้เย็น ฝาบ้าน ฝาห้อง ฯลฯ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นกำลังใจให้เด็กฝึกฝนทักษะการขีดเขียน ยิ่งๆ ขึ้น
พัฒนาการขีดเขียนที่เป็นสากล
มีความเชื่อกันว่า พัฒนาการขีดเขียนของเด็กทั่วโลกมี 5 ขั้นตอน ซึ่งเด็กๆ ทุกคนที่มีโอกาสได้พัฒนาศิลปะขีดเขียน จะพัฒนาไปตามขั้นตอนนี้ทั้งสิ้น ยกเว้นแต่ว่ามีสิ่งแวดล้อมภายนอกมาทำให้พัฒนาการต้องชะงักงัน เด็กจะผ่านขั้นตอนไปตามลำดับขั้น แต่ความเร็วช้า(อายุที่ต้องพัฒนา) มีความแตกต่างไปในรายบุคคล และขอให้ถือเสมอว่าการแบ่งขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่การแบ่งอย่างเฉียบขาด พัฒนาการเชิงศิลป์มีความเหลื่อมลํ้าในการแบ่งระยะขั้นตอนของพัฒนาการ อนึ่ง สำหรับภาพวาดเขียนของเด็กในช่วงวัยเด็กตอนต้นนี้ น่าประหลาดที่มีความเหมือนๆ กันในเด็กทั่วโลก ในด้านเส้นขีดเขียน การวางตำแหน่งภาพ การให้รายละเอียดในภาพ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมที่ผู้ใหญ่เรียนรู้ เมื่อผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว ทำให้ผลงานทางศิลปะของผู้ใหญ่แต่ละท้องถิ่นต่างกัน
มีความเชื่อกันว่า พัฒนาการขีดเขียนของเด็กทั่วโลกมี 5 ขั้นตอน ซึ่งเด็กๆ ทุกคนที่มีโอกาสได้พัฒนาศิลปะขีดเขียน จะพัฒนาไปตามขั้นตอนนี้ทั้งสิ้น ยกเว้นแต่ว่ามีสิ่งแวดล้อมภายนอกมาทำให้พัฒนาการต้องชะงักงัน เด็กจะผ่านขั้นตอนไปตามลำดับขั้น แต่ความเร็วช้า(อายุที่ต้องพัฒนา) มีความแตกต่างไปในรายบุคคล และขอให้ถือเสมอว่าการแบ่งขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ใช่การแบ่งอย่างเฉียบขาด พัฒนาการเชิงศิลป์มีความเหลื่อมลํ้าในการแบ่งระยะขั้นตอนของพัฒนาการ อนึ่ง สำหรับภาพวาดเขียนของเด็กในช่วงวัยเด็กตอนต้นนี้ น่าประหลาดที่มีความเหมือนๆ กันในเด็กทั่วโลก ในด้านเส้นขีดเขียน การวางตำแหน่งภาพ การให้รายละเอียดในภาพ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมที่ผู้ใหญ่เรียนรู้ เมื่อผ่านพ้นวัยเด็กไปแล้ว ทำให้ผลงานทางศิลปะของผู้ใหญ่แต่ละท้องถิ่นต่างกัน
ไม่ว่าเด็กจะวาดรูปเป็นรูปทรงที่ผู้ใหญ่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างก็ตามที เด็กๆ จะตั้งใจขีดเขียนด้วยความตั้งใจ พอใจ และภูมิใจในผลงานของตนอย่างมาก ภาพทุกๆ รูปทรง เป็นการแสดงออกถึงความคิด จินตนาการ และอารมณ์ของเด็ก อย่างที่ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและสนับสนุน เพราะจากการวาดเหล่านี้ เด็กจะพัฒนาความรักในศิลปะแบบนี้สืบไป การวาดเขียนของเด็กเป็นการเล่นสนุกปนเรียนชนิดหนึ่ง และเป็นการให้โอกาสเด็กสร้างจินตนาการ ถ่ายทอดจินตนาการ ทั้งยังเป็นพัฒนาการทางความคิด และอารมณ์อย่างหนึ่ง
การขีดเขียนทั้ง 5 ขั้นตอน คือ :
1. ขั้นขีดเขี่ย (The scribbling stage) อายุประมาณ 2-4 ปี
2. ขั้นก่อนแบบแผน (The preschematic stage) อายุประมาณ 4-7 ปี
3. ขั้นแบบแผน (The schematic stage) อายุประมาณ 7-9 ปี
4. ขั้นเริ่มเหมือนจริง (The dawning realism) อายุประมาณ 9-11 ปี
5. ขั้นมีเหตุผล (The stage of reasoning) อายุประมาณ 11-13 ปี
1. ขั้นขีดเขี่ย (The scribbling stage) อายุประมาณ 2-4 ปี
2. ขั้นก่อนแบบแผน (The preschematic stage) อายุประมาณ 4-7 ปี
3. ขั้นแบบแผน (The schematic stage) อายุประมาณ 7-9 ปี
4. ขั้นเริ่มเหมือนจริง (The dawning realism) อายุประมาณ 9-11 ปี
5. ขั้นมีเหตุผล (The stage of reasoning) อายุประมาณ 11-13 ปี
ขั้นขีดเขี่ย
ผู้ที่มีความรู้เชิงศิลป์ยังอธิบายว่า การขีดเขี่ยของเด็กเป็นพื้นฐานความรู้และความเข้าใจในแบบของศิลปะลายเส้น (Graphic art) ภาพวาดลายเส้นของเด็กทุกเส้นเป็นศิลปะทั้งสิ้น (ประภัสร นิยมธรรม, 2522)
ผู้ที่มีความรู้เชิงศิลป์ยังอธิบายว่า การขีดเขี่ยของเด็กเป็นพื้นฐานความรู้และความเข้าใจในแบบของศิลปะลายเส้น (Graphic art) ภาพวาดลายเส้นของเด็กทุกเส้นเป็นศิลปะทั้งสิ้น (ประภัสร นิยมธรรม, 2522)
ขั้นขีดเขี่ยเริ่มต้นแล้วตั้งแต่วัยทารก(ดังได้อภิปรายมาบ้างแล้ว) การขีดเขี่ยเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ เด็กทุกๆ คนชอบขีดเขี่ย การขีดเขี่ยดูเหมือนว่าเป็นการเล่นสนุกๆ ไม่มีความหมาย สำหรับผู้ใหญ่ แต่ที่จริงแล้วมีความหมายมากสำหรับเด็ก การขีดเขี่ยเป็นบทเรียนที่ทำให้เด็กได้รู้จักเริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ของภาพและพื้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ลองผิดลองถูก เด็กเรียนรู้จักการวางตำแหน่งของภาพ รู้จักวางทิศทางของภาพ ฯลฯ ระยะแรกสุด การขีดเขี่ยของเด็กไม่มีระเบียบอะไรเลย ต่อมาเด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการขีดเขี่ยเพิ่มพูนขึ้น ตามประสบการณ์และตามทักษ ความสามารถในการใช้มือ แขน ตา การรับรู้ ความเข้าใจ ได้อย่าง ประสานสัมพันธ์กัน เด็ก 2-3 ขวบ จะสามารถลากเส้นยาวๆ ได้ ทำรูปวงกลมหรือรูปทรงอย่างอื่นได้ เมื่อเขาสามารถบังคับมือให้ทำรูปทรงได้แล้ว ต่อมาก็จะพัฒนาความสามารถไปอีกระดับหนึ่ง คือรู้จักใช้ภาษาดังชื่อ “สิ่ง” ที่เขาวาด (Symbolization) ซึ่งยังไม่ตรงกับความเป็นจริง ขั้นขีดเขี่ยมีพัฒนาการ 4 ลำดับขั้นคือ (1) ขั้นขีดเขี่ยที่ไม่เป็นระเบียบ (2) ขั้นขีดเขี่ยเป็นเส้นยาว (3) ขั้นขีดเขี่ยเป็นวงกลม และ (4) ขั้นตั้งชื่อการขีดเขี่ย
ผู้วาดภาพ ด.ญ.ณิชารีย์ พัดทอง อายุ 2 ½ ปี
1. ขั้นขีดเขี่ยไม่เป็นระเบียบ
ผู้วาดภาพ ด.ญ.ณิชารีย์ พัดทอง อายุ 2 ½ ปี
1. ขั้นขีดเขี่ยไม่เป็นระเบียบ
ผู้วาดภาพ ด.ญ.ณิชารีย์ พัดทอง อายุ 2 ½ ปี
2. ขั้นขีดเขี่ยเป็นเส้นยาว
2. ขั้นขีดเขี่ยเป็นเส้นยาว
ผู้วาดภาพ ด.ญ.ณิชารีย์ พัดทอง อายุ 2 ½ ปี
3. ขั้นขีดเขี่ยเป็นวงกลม
3. ขั้นขีดเขี่ยเป็นวงกลม
ภาพที่ 1 “พ่อ”
วาดโดย: เด็กหญิงประภาพัชร พันธุมะผล อายุ 4 ปี 3 เดือน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2530 ขนาด 27 ½ x 21 ซม.
ภาพที่ 2 “ตัวเอง”
วาดโดย : เด็กหญิงประภาพัชร พันธุมะผล อายุ 4 ปี 3 เดือน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2530 ขนาด 27 ½ x 21 ซม.
ภาพจาก “รักลูก” , 9 ธันวาคม, 2530
4. ขั้นตั้งชื่อการขีดเขี่ย
วาดโดย: เด็กหญิงประภาพัชร พันธุมะผล อายุ 4 ปี 3 เดือน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2530 ขนาด 27 ½ x 21 ซม.
ภาพที่ 2 “ตัวเอง”
วาดโดย : เด็กหญิงประภาพัชร พันธุมะผล อายุ 4 ปี 3 เดือน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2530 ขนาด 27 ½ x 21 ซม.
ภาพจาก “รักลูก” , 9 ธันวาคม, 2530
4. ขั้นตั้งชื่อการขีดเขี่ย
1. ลักษณะการขีดเขี่ยขั้นพื้นฐาน
มีอยู่ 20 ลักษณะ ประกอบด้วยเส้นแนวนอน แนวตั้ง เส้นโค้ง ทแยงมุม วงกลม เส้นคลื่นและจุด ดังแสดงด้วยภาพข้างล่างนี้
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 6)
มีอยู่ 20 ลักษณะ ประกอบด้วยเส้นแนวนอน แนวตั้ง เส้นโค้ง ทแยงมุม วงกลม เส้นคลื่นและจุด ดังแสดงด้วยภาพข้างล่างนี้
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 6)
2. ตำแหน่งที่เด็กชอบขีดเขี่ย
ตำแหน่งที่เด็กชอบขีดเขี่ยมี 17 แบบดังต่อไปนี้
1. เขียนเต็มไปหมดทั้งหน้ากระดาษ
2. เริ่มจากจุดศูนย์กลาง บางทีก็เล็ก บางทีก็ใหญ่ แต่อยู่ตรงกลางกระดาษ
3. มีช่องว่างแต่อยู่ในกรอบ โดยมีขอบกระดาษวางไว้เป็นกรอบ
4-5 เขียนอยู่ในแนวเส้นตั้งหรือเส้นแนวนอน โดยใช้กระดาษเพียงครึ่งหนึ่ง
6. ภาพทั้งสองอยู่คนละด้านแต่สมดุลย์กัน
7. ภาพอยู่ในเส้นทะแยงมุม และกระจายไปอย่างราบเรียบสมํ่าเสมอ
8. ภาพจะอยู่ในลักษณะรูปที่ 7 แต่เส้นจะล้นออกมาทางอีกด้านหนึ่งของเส้นทะแยงบ้าง
9. ภาพอยู่ในแกนกลางของเส้นทะเเยงมุม และกระจายไปอย่างราบเรียบสมํ่าเสมอ
10. ภาพที่เขียนออกมาจะปรากฏอยู่ในกระดาษเพียง 2 ใน 3 ส่วนของกระดาษ จะเห็นเส้นที่แยกออกจากกันอย่างเด่นชัด
11. ภาพจะอยู่ในกระดาษเพียง 1/4 โดยอยู่มุมใดมุมหนึ่งของกระดาษ
12. ภาพจะแผ่กระจายมุมหนึ่งเป็นรูปพัด อีกมุมหนึ่งว่างเปล่า
13. ภาพจะอยู่ในแนวโค้งโดยใช้มุม 2 ด้าน
14. ภาพจะอยู่ในแนวโค้งโดยใช้มุมทั้ง 3 ของกระดาษ
15. ภาพจะปรากฏในรูปปิรามิด โดยเริ่มจากมุม 2 มุม อีก 2 มุมว่างเปล่า
16. ภาพจะพาดลักษณะเป็นแถบระหว่างกระดาษ
17. เส้นภาพจะแผ่กระจายเป็นรูปพัด โดยเริ่มจากตอนล่างของกระดาษ
ภาพแสดงการจัดวางตำแหน่งของภาพ 17 แบบ
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 6)
ตำแหน่งที่เด็กชอบขีดเขี่ยมี 17 แบบดังต่อไปนี้
1. เขียนเต็มไปหมดทั้งหน้ากระดาษ
2. เริ่มจากจุดศูนย์กลาง บางทีก็เล็ก บางทีก็ใหญ่ แต่อยู่ตรงกลางกระดาษ
3. มีช่องว่างแต่อยู่ในกรอบ โดยมีขอบกระดาษวางไว้เป็นกรอบ
4-5 เขียนอยู่ในแนวเส้นตั้งหรือเส้นแนวนอน โดยใช้กระดาษเพียงครึ่งหนึ่ง
6. ภาพทั้งสองอยู่คนละด้านแต่สมดุลย์กัน
7. ภาพอยู่ในเส้นทะแยงมุม และกระจายไปอย่างราบเรียบสมํ่าเสมอ
8. ภาพจะอยู่ในลักษณะรูปที่ 7 แต่เส้นจะล้นออกมาทางอีกด้านหนึ่งของเส้นทะแยงบ้าง
9. ภาพอยู่ในแกนกลางของเส้นทะเเยงมุม และกระจายไปอย่างราบเรียบสมํ่าเสมอ
10. ภาพที่เขียนออกมาจะปรากฏอยู่ในกระดาษเพียง 2 ใน 3 ส่วนของกระดาษ จะเห็นเส้นที่แยกออกจากกันอย่างเด่นชัด
11. ภาพจะอยู่ในกระดาษเพียง 1/4 โดยอยู่มุมใดมุมหนึ่งของกระดาษ
12. ภาพจะแผ่กระจายมุมหนึ่งเป็นรูปพัด อีกมุมหนึ่งว่างเปล่า
13. ภาพจะอยู่ในแนวโค้งโดยใช้มุม 2 ด้าน
14. ภาพจะอยู่ในแนวโค้งโดยใช้มุมทั้ง 3 ของกระดาษ
15. ภาพจะปรากฏในรูปปิรามิด โดยเริ่มจากมุม 2 มุม อีก 2 มุมว่างเปล่า
16. ภาพจะพาดลักษณะเป็นแถบระหว่างกระดาษ
17. เส้นภาพจะแผ่กระจายเป็นรูปพัด โดยเริ่มจากตอนล่างของกระดาษ
ภาพแสดงการจัดวางตำแหน่งของภาพ 17 แบบ
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 6)
3. การกำหนดรูปทรงในขั้นขีดเขี่ย (2-4 ขวบ)
เด็กในขั้นขีดเขี่ยจะกำหนดรูปทรงได้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ต่อมาจะดูเป็นรูปทรงยิ่งขึ้นๆ ใกล้ความจริงไปทุกที เริ่มจากมองไม่เห็นเป็นรูปทรงอะไรๆ เลย แล้วพัฒนาเป็นรูปวงกลม วงสี่เหลี่ยม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทะแยงมุม ฯลฯ บางทีเมื่อเด็กเขียนพอมองเห็นเป็นรูปทรงแล้ว เด็กอาจจะหยุดไว้และอาจต่อเติมเส้นใหม่ๆ ลงไปอีกในเวลาอื่น การจัดวางรูปทรงแบบต่างๆ เริ่มมองเห็นได้เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 22)
เด็กในขั้นขีดเขี่ยจะกำหนดรูปทรงได้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ต่อมาจะดูเป็นรูปทรงยิ่งขึ้นๆ ใกล้ความจริงไปทุกที เริ่มจากมองไม่เห็นเป็นรูปทรงอะไรๆ เลย แล้วพัฒนาเป็นรูปวงกลม วงสี่เหลี่ยม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทะแยงมุม ฯลฯ บางทีเมื่อเด็กเขียนพอมองเห็นเป็นรูปทรงแล้ว เด็กอาจจะหยุดไว้และอาจต่อเติมเส้นใหม่ๆ ลงไปอีกในเวลาอื่น การจัดวางรูปทรงแบบต่างๆ เริ่มมองเห็นได้เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 22)
‘‘ดิฉันเป็นแม่ของลูกชายวัย 3 ขวบครึ่ง ขอส่งผลงาน ศิลปะของเขามาให้อาจารย์พิจารณาค่ะ เขาชอบขีดเขียนมาตั้งแต่เล็กพอเขาครบ 3 ขวบ เขาเขียนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ภาพส่วนใหญ่เป็นรถ เพราะเขาชอบเล่นรถมาก เขาวาดทุกๆ วันๆ ละหลายๆ แผ่น เอากระดาษใบสั่งยาของพ่อเขามาเขียน ภาพไหนที่เขาคงจะเห็นว่าสวยก็เอามาให้แม่ พร้อมทั้งอธิบายทุกภาพว่าเป็นภาพอะไร ดิฉันเก็บไว้บางภาพ ว่าจะเอาไว้ให้เขาดูตอนโต
ภาพจักรยาน “กำลังซ่อม” เขาวาดเดี๋ยวเดียวนะคะ ข้าง Clinic พ่อเป็นร้านซ่อมจักรยานค่ะ ดูๆ แล้วทำเหมือนกองชิ้นส่วนจักรยาน ที่กองอยู่หน้าร้านจริงๆ
ดิฉันอยากให้เขาใช้ดินสอวาดมากกว่าปากกา เพราะลายเส้นดูนุ่มนวลอ่อนช้อย แต่เขายืนยันจะใช้ปากกา นี่กำลังให้เขาเล่นสีนํ้าอยู่ แต่ก็ได้แต่ป้ายๆ เลอะๆ แล้ว หัวร่อชอบใจ…..”
แม่ลูกป้อง
แม่ลูกป้อง
ภาพที่ 1 รถจักรยาน “กำลังซ่อม
วาดโดย ด.ช.ป้องชาติ พัวพัฒนกุล
เมื่อ 5 สิงหาคม 2530
ภาพจาก “รักลูก” 6/1 กุมภาพันธ์ 2531
ขั้นก่อนแบบแผน (4-7 ขวบ)
ขั้นตอนนี้เหลื่อมลํ้ากับขั้นตอนที่ 1 อยู่มาก มีพัฒนาการด้านการขีดเขียน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนนี้เหลื่อมลํ้ากับขั้นตอนที่ 1 อยู่มาก มีพัฒนาการด้านการขีดเขียน ดังต่อไปนี้
1 . รู้จักออกแบบ (ประมาณ 3-4-5 ขวบ)
เริ่มรู้จักออกแบบโครงร่างอย่างง่ายๆ เช่น เขียนรูปวงกลมใส่ในรูปสี่เหลี่ยม เอารูป 2 แบบมารวมด้วยกันได้ การเขียนเส้นตามแนวนอนมีความตรงขึ้น บางทีก็เอารูปต่างๆ หลายๆ รูปมารวมกัน การออกแบบของเด็กเกิดจากทั้งจินตนาการและผนวกกับสิ่งที่เด็กได้พบเห็นรอบๆ ตัว และจะเพิ่มรายละเอียดในรูปยิ่งกว่าระยะแรกๆ
เริ่มรู้จักออกแบบโครงร่างอย่างง่ายๆ เช่น เขียนรูปวงกลมใส่ในรูปสี่เหลี่ยม เอารูป 2 แบบมารวมด้วยกันได้ การเขียนเส้นตามแนวนอนมีความตรงขึ้น บางทีก็เอารูปต่างๆ หลายๆ รูปมารวมกัน การออกแบบของเด็กเกิดจากทั้งจินตนาการและผนวกกับสิ่งที่เด็กได้พบเห็นรอบๆ ตัว และจะเพิ่มรายละเอียดในรูปยิ่งกว่าระยะแรกๆ
เด็กที่สามารถวาดภาพวงกลมได้แล้ว จะพัฒนาแบบของวงกลมออกไปเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ดวงอาทิตย์ มีรัศมี กากบาทในวงกลม ล้อรถ หน้าคน ดอกไม้ ฯลฯ
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 28)
(ประภัสร นิยมธรรม, 2522, หน้า 28)
2. เริ่มเขียนคน (4-5 ขวบ)
เด็กเริ่มเขียนภาพคน หลังจากที่เขาสามารถเขียนรูปวงกลมมีรัศมีซึ่งหมายถึงแสงอาทิตย์ได้ โดยเขียนหน้าคนก่อน และมีแขนขาประกอบเล็กน้อย รูปคนที่วาดก่อนอายุ 6 ขวบ จะไม่ถูกสัดส่วนทางกายวิภาค สำหรับเด็กรูปนั้นคือรูปคนที่เขาพออกพอใจ
นักรบเจ้าจักรวาลฮีแมน โดยเด็กชายภู ผุสดี อายุ 4 ขวบ 11 เดือน เขียนด้วยดินสอดำบนกระดาษปอนด์ขนาด 19 ½ x13 ซม. เมื่อ 24 ธ.ค.30
เด็กเริ่มเขียนภาพคน หลังจากที่เขาสามารถเขียนรูปวงกลมมีรัศมีซึ่งหมายถึงแสงอาทิตย์ได้ โดยเขียนหน้าคนก่อน และมีแขนขาประกอบเล็กน้อย รูปคนที่วาดก่อนอายุ 6 ขวบ จะไม่ถูกสัดส่วนทางกายวิภาค สำหรับเด็กรูปนั้นคือรูปคนที่เขาพออกพอใจ
นักรบเจ้าจักรวาลฮีแมน โดยเด็กชายภู ผุสดี อายุ 4 ขวบ 11 เดือน เขียนด้วยดินสอดำบนกระดาษปอนด์ขนาด 19 ½ x13 ซม. เมื่อ 24 ธ.ค.30
3. เริ่มเขียนเป็นรูปร่างและเรื่องราว (4 – 6 ขวบ)
เด็กระยะนี้เริ่มเขียนภาพที่ดูแล้วเห็นเป็นเรื่องเป็นราวได้ เช่น สัตว์ยืนทื่อๆ ด้วยขา 2 ขา มีใบหูอยู่บนหัว บ้านก็เป็นรูปผสมของสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ดอกไม้เป็นรูปวงกลม บนเส้นตรง เครื่องบินเป็นเส้นเฉียงตัดกัน รถยนต์คือบ้านที่มีล้อ บ้านก็ดูมีชีวิตจิตใจเหมือนคน คือบางบ้านเศร้า บางบ้านรื่นเริง ภาพสัตว์ปนกับภาพคน หรือสัตว์บางตัวมีหลายขา สัตว์ก็อาจเป็นคนได้ด้วยเพราะใบหน้าเป็นใบหน้าคน มีผม รวมทั้งมีเท้าและมีขาสองข้าง หรืออาจมีขาตั้งโหล ภาพสัตว์กับคนจึงดูผสมกัน (ประภัสร นิยมธรรม, 2522)
เด็กระยะนี้เริ่มเขียนภาพที่ดูแล้วเห็นเป็นเรื่องเป็นราวได้ เช่น สัตว์ยืนทื่อๆ ด้วยขา 2 ขา มีใบหูอยู่บนหัว บ้านก็เป็นรูปผสมของสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ดอกไม้เป็นรูปวงกลม บนเส้นตรง เครื่องบินเป็นเส้นเฉียงตัดกัน รถยนต์คือบ้านที่มีล้อ บ้านก็ดูมีชีวิตจิตใจเหมือนคน คือบางบ้านเศร้า บางบ้านรื่นเริง ภาพสัตว์ปนกับภาพคน หรือสัตว์บางตัวมีหลายขา สัตว์ก็อาจเป็นคนได้ด้วยเพราะใบหน้าเป็นใบหน้าคน มีผม รวมทั้งมีเท้าและมีขาสองข้าง หรืออาจมีขาตั้งโหล ภาพสัตว์กับคนจึงดูผสมกัน (ประภัสร นิยมธรรม, 2522)
ภาพวาดของเด็กอายุ 4 ขวบที่มีความคล้ายคลึงกันในเด็กแทบทั่วโลก
(หมายเหตุ:Kellog เป็นนักจิตวิทยาผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องการวาดเขียนของเด็กที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ได้คงความเดิมที่อธิบายลักษณะภาพของเด็ก 4 ขวบ ไว้ตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
อย่างลึกซึ้ง
(อ้างจาก Scan- et al., 1986, หน้า 238)
“It’s a Person!” At about age 4, children everywhere begin to draw tadpole figures that they label “Mommy,” “a person, or me.” The child’s first tadpole may be a happy accident—a circle with some protruding lines that is sufficiently humanoid to merit a human label. When the young artist discovers that he can regularly achieve this effect, he has entered the representation stage. The drawing stands for someone. Typically, youngsters draw tadpole after tadpole, delighted with their newfound ability.
(Kellogg. 1969)
(หมายเหตุ:Kellog เป็นนักจิตวิทยาผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องการวาดเขียนของเด็กที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ได้คงความเดิมที่อธิบายลักษณะภาพของเด็ก 4 ขวบ ไว้ตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
อย่างลึกซึ้ง
(อ้างจาก Scan- et al., 1986, หน้า 238)
“It’s a Person!” At about age 4, children everywhere begin to draw tadpole figures that they label “Mommy,” “a person, or me.” The child’s first tadpole may be a happy accident—a circle with some protruding lines that is sufficiently humanoid to merit a human label. When the young artist discovers that he can regularly achieve this effect, he has entered the representation stage. The drawing stands for someone. Typically, youngsters draw tadpole after tadpole, delighted with their newfound ability.
(Kellogg. 1969)
4. เขียนเป็นรูปร่างและเรื่องราว (5-7 ขวบ)
ถึงตอนนี้เด็กจะวาดภาพเป็นรูปร่างและเป็นเรื่องราวมากกว่าตอนที่ผ่านมา มีความสมดุลของภาพ เด็กรู้จักใช้วัสดุหลายชนิด อวัยวะนิ้วมือ และการรับรู้ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี (ประภัสร นิยมธรรม, 2522)
วาดโดย : เด็กหญิงนิราวรรณ อายุ 5 ปี 11 เดือน
ชื่อภาพ : รถแล่นบนทางด่วน ผ่านตึกใบหยกและเซ็นทรัล
(จาก “รักลูก” , 6, 6 กรกฎาคม, 2531)
ถึงตอนนี้เด็กจะวาดภาพเป็นรูปร่างและเป็นเรื่องราวมากกว่าตอนที่ผ่านมา มีความสมดุลของภาพ เด็กรู้จักใช้วัสดุหลายชนิด อวัยวะนิ้วมือ และการรับรู้ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี (ประภัสร นิยมธรรม, 2522)
วาดโดย : เด็กหญิงนิราวรรณ อายุ 5 ปี 11 เดือน
ชื่อภาพ : รถแล่นบนทางด่วน ผ่านตึกใบหยกและเซ็นทรัล
(จาก “รักลูก” , 6, 6 กรกฎาคม, 2531)
ขั้นแบบแผน (7-9 ปี)
ขั้นแบบแผนเป็นขั้นตอนที่ปรากฏในวัยเด็กตอนปลาย แต่ก็อาจเหลื่อมล้ำกับพัฒนาการการขีดเขียนของเด็กวัยเด็กตอนต้นในเด็กบางคน จึงขอนำเสนอลักษณะพัฒนาการของการวาดเขียนขั้นแบบแผนในที่นี้ เพื่อให้เห็นความต่อเนื่อง
ขั้นแบบแผนเป็นขั้นตอนที่ปรากฏในวัยเด็กตอนปลาย แต่ก็อาจเหลื่อมล้ำกับพัฒนาการการขีดเขียนของเด็กวัยเด็กตอนต้นในเด็กบางคน จึงขอนำเสนอลักษณะพัฒนาการของการวาดเขียนขั้นแบบแผนในที่นี้ เพื่อให้เห็นความต่อเนื่อง
ลักษณะพัฒนาการที่จะกล่าวได้ว่าเด็กได้พัฒนาการขีดเขียนเข้าสู่ขั้นแบบแผน คือความสามารถในการเขียนที่เด็กรู้จักใช้เส้นฐาน รู้จักวาดภาพพับกลาง และวาดภาพโปร่งใส
1. การใช้เส้นฐาน
เส้นฐานคือ เส้นที่ใช้สำหรับรองรับรูปต่างๆ ที่ปรากฏบนภาพ เช่น เส้นนอน เส้นโค้ง เส้นขอบกระดาษ รูปต่างๆ ที่ปรากฏบนเส้นฐานต้องตั้งฉากกับเส้นฐาน (มักไม่ตั้งฉากจริงๆ จังๆ) บางครั้งบนเส้นฐานหนึ่งก็แสดงเหตุการณ์อย่างหนึ่ง การที่เด็กรู้จักใช้เส้นฐานเป็นสิ่งแสดงความเจริญเติบโต ทางความคิดว่า เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของตนกับสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
เส้นฐานคือ เส้นที่ใช้สำหรับรองรับรูปต่างๆ ที่ปรากฏบนภาพ เช่น เส้นนอน เส้นโค้ง เส้นขอบกระดาษ รูปต่างๆ ที่ปรากฏบนเส้นฐานต้องตั้งฉากกับเส้นฐาน (มักไม่ตั้งฉากจริงๆ จังๆ) บางครั้งบนเส้นฐานหนึ่งก็แสดงเหตุการณ์อย่างหนึ่ง การที่เด็กรู้จักใช้เส้นฐานเป็นสิ่งแสดงความเจริญเติบโต ทางความคิดว่า เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของตนกับสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
2. ภาพพับกลาง
เป็นลักษณะการขีดเขียนที่คล้ายของจริง โดยเด็กจะรู้จักใช้เส้นขนานกัน รูปต่างๆ จะอยู่บนเส้นฐานของแต่ละด้าน ซึ่งคล้ายๆ กับตั้งอยู่คนละฝั่งคลองหรือแม่น้ำ ตัวอย่างภาพพับกลาง เช่น ถนนหนทางที่มีบ้านเรือนสองฟากทาง ภาพลำคลองยาว ซึ่งมีต้นไม้อยู่สองฟากฝั่ง
เป็นลักษณะการขีดเขียนที่คล้ายของจริง โดยเด็กจะรู้จักใช้เส้นขนานกัน รูปต่างๆ จะอยู่บนเส้นฐานของแต่ละด้าน ซึ่งคล้ายๆ กับตั้งอยู่คนละฝั่งคลองหรือแม่น้ำ ตัวอย่างภาพพับกลาง เช่น ถนนหนทางที่มีบ้านเรือนสองฟากทาง ภาพลำคลองยาว ซึ่งมีต้นไม้อยู่สองฟากฝั่ง
บางครั้งภาพพับกลางไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นฐานที่ขนานกันก็ได้ แต่อาจโค้งไปมาจรดกันเป็นรูปวงกลม แล้วถือเอารูปวงกลมเป็นเส้นฐานเขียนรูปต่างๆ ทางด้านนอก ให้ตั้งฉากกับเส้นฐานนี้ รูปต่างๆ ปรากฏบนเส้นวงกลม เช่น ดอกไม้ ดวงอาทิตย์ สระน้ำ ซึ่งนับเป็นการวาดแบบพับกลางเช่นกัน
ภาพพับกลาง
(ไม่ทราบชื่อผู้วาด : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2529, หน้า 91)
ภาพพับกลาง
(ไม่ทราบชื่อผู้วาด : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2529, หน้า 91)
3. ภาพโปร่งใส
คือภาพที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ให้ปรากฏอย่างทะลุปรุโปร่ง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นเลย เช่น ภาพบ้านที่แสดงให้เห็นสิ่งของเครื่องใช้ทุกชิ้นในบ้าน คนในบ้าน ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง ทั้งนี้เด็กมิได้คิดถึงความเป็นจริง แต่ใช้จินตนาการของตน
คือภาพที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ให้ปรากฏอย่างทะลุปรุโปร่ง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นเลย เช่น ภาพบ้านที่แสดงให้เห็นสิ่งของเครื่องใช้ทุกชิ้นในบ้าน คนในบ้าน ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง ทั้งนี้เด็กมิได้คิดถึงความเป็นจริง แต่ใช้จินตนาการของตน
ลักษณะของภาพในขั้นตอนนี้บางประการ:
1. เส้นไม่ขาดหาย ไม่ขยุกขยิก เด็กบางคนสามารถแสดงภาพที่เห็นการเคลื่อนไหวได้แล้ว
2. ส่วนที่ตนเห็นว่าไม่สำคัญจะตัดทิ้งไป เลือกเขียนเฉพาะส่วนที่ตนเห็นว่าสำคัญ
3. สามารถแบ่งแยกเรื่องราว เหตุการณ์ในรูปได้
4. ภาพไม่สมจริงเสมอไป เช่น แขน ขา ยาว ผิดปกติ ทั้งนี้เป็นไปตามเจตนาที่เด็กต้องการเน้น
5. แสดงรายละเอียดในภาพได้มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญของสมรรถภาพในการรับรู้
6. ใช้สีได้ตรงตามความเป็นจริง เช่น ต้นไม้สีเขียว, ทะเลสีฟ้า
7. รู้จักวางภาพอย่างมี Figure and ground
8. แสดงออกซึ่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์จำเพาะตนได้
1. เส้นไม่ขาดหาย ไม่ขยุกขยิก เด็กบางคนสามารถแสดงภาพที่เห็นการเคลื่อนไหวได้แล้ว
2. ส่วนที่ตนเห็นว่าไม่สำคัญจะตัดทิ้งไป เลือกเขียนเฉพาะส่วนที่ตนเห็นว่าสำคัญ
3. สามารถแบ่งแยกเรื่องราว เหตุการณ์ในรูปได้
4. ภาพไม่สมจริงเสมอไป เช่น แขน ขา ยาว ผิดปกติ ทั้งนี้เป็นไปตามเจตนาที่เด็กต้องการเน้น
5. แสดงรายละเอียดในภาพได้มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญของสมรรถภาพในการรับรู้
6. ใช้สีได้ตรงตามความเป็นจริง เช่น ต้นไม้สีเขียว, ทะเลสีฟ้า
7. รู้จักวางภาพอย่างมี Figure and ground
8. แสดงออกซึ่งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์จำเพาะตนได้
(ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2529, หน้า 74)
ภาพเขียนของเด็ก : ความคิดของเด็กที่เรามองเห็นได้
Schell & Hall (1979, หน้า 232) ได้เสนอผลการวิจัยซึ่งสรุปได้ว่า ภาพวาดเขียนของเด็ก วัยเด็กตอนต้น ได้แสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพในการคิดนึกด้วยสัญลักษณ์ของเด็กอันอัศจรรย์ยิ่ง ลายเส้นและภาพที่เด็กแสดงออกมานั้น ดูยุ่งเหยิงไร้ระเบียบอันเกิดจากความด้อยสมรรถภาพในการใช้มือ การเริ่มฝึกหัดใช้เครื่องมือในการขีดเขียน (เช่น ดินสอ ดินสอเทียน ไม้บรรทัด ฯลฯ) และความไม่เข้าใจสิ่งแวดด้อม สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ พัฒนาให้ดูดียิ่งขึ้นๆ เมื่อเด็กเจริญวัย ภาพวาดเขียนของเด็กยังเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิด วิธีการแก้ปัญหา ลักษณะอารมณ์ และนิสัยใจคอของเด็ก จนอาจกล่าวได้ว่า ภาพเขียนของเด็กคือ “ความคิดของเด็กที่เรามองเห็นได้ (Visible thinking)”
Schell & Hall (1979, หน้า 232) ได้เสนอผลการวิจัยซึ่งสรุปได้ว่า ภาพวาดเขียนของเด็ก วัยเด็กตอนต้น ได้แสดงให้เห็นถึงสมรรถภาพในการคิดนึกด้วยสัญลักษณ์ของเด็กอันอัศจรรย์ยิ่ง ลายเส้นและภาพที่เด็กแสดงออกมานั้น ดูยุ่งเหยิงไร้ระเบียบอันเกิดจากความด้อยสมรรถภาพในการใช้มือ การเริ่มฝึกหัดใช้เครื่องมือในการขีดเขียน (เช่น ดินสอ ดินสอเทียน ไม้บรรทัด ฯลฯ) และความไม่เข้าใจสิ่งแวดด้อม สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ พัฒนาให้ดูดียิ่งขึ้นๆ เมื่อเด็กเจริญวัย ภาพวาดเขียนของเด็กยังเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิด วิธีการแก้ปัญหา ลักษณะอารมณ์ และนิสัยใจคอของเด็ก จนอาจกล่าวได้ว่า ภาพเขียนของเด็กคือ “ความคิดของเด็กที่เรามองเห็นได้ (Visible thinking)”
มีความเชื่อกันว่า แรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลป์ด้วยการขีดเขียนนั้น เด็กทุกๆ คนมีพรสวรรค์แห่งความสามารถนี้ในตัว ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเกิดอยู่ ณ สถานที่ใด มีภูมิปัญญาระดับใด เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะชื่นชมงานศิลป์หรือไม่ แรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลป์เชิงขีดเขียน ซึ่งติดตัวมาตามธรรมชาติของเด็ก จะเริ่มค่อยๆ เลือนไป ถ้าหากไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้ใหญ่ สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย การสอนศิลป์ผิดๆ แก่เด็ก (Scarr et al., 1986)
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น